วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

มงคล 38 ประการ


                                                      
       
  
                                                        คำคม : มงคล 38 ประการ
คำคม : คงไม่มีคำคมใดที่มีคุณค่าไปกว่าคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่มีเทวดามาถามคำถามว่า "คุณธรรมอันใดที่ทำให้ชีวิตประสบความเจริญ" อันเป็นที่มาของ "มงคลชีวิต 38 ประการ" ที่ใครปฏิบัติตามย่อมเป็นเหตุนำมาซึ่งความสุข ความเจริญก้าวหน้าในชีวิต ได้แก่ (คลิกแต่ละหัวข้อในตารางเพื่อดูรายละเอียดได้)

                                                              
มงคลที่ 1.ไม่คบคนพาล
อย่าคบมิตร ที่พาล สันดานชั่ว
จะพาตัว เน่าดิบ จนฉิบหาย
แม้ความคิด ชั่วช้า อย่ากล้ำกราย
เป็นมิตรร้าย ภายใน ทุกข์ใจครัน

มงคลที่ 2.การคบบัณฑิต
ควรคบหา บัณฑิต เป็นมิตรไว้
จะช่วยให้ พ้นทุกข์ สบสุขสันต์
ความคิดดี เลิศล้ำ ยิ่งสำคัญ
ควรคบกัน อย่าเขว ทุกเวลา
มงคลที่ 3.การบูชาบุคคลที่ควรบูชา
ควรบูชา ไตรรัตน์ ขัตติเยศร์
ผู้วิเศษ ก่อเกื้อ เหนือเกศา
ครูอาจารย์ เจดีย์ ที่สักการ์
ด้วยบุปผา ปฏิบัติ สวัสดิ์การ
มงคลที่ 4.การอยู่ในถิ่นอันสมควร
เป็นเมืองกรุง ทุ่งนา หรือป่าใหญ่
ทางมา-ไป ครบครัน ธัญญาหาร
มีคนดี ที่ศึกษา พยาบาล
ปลอดภัยพาล ควรอยู่กิน ถิ่นนั้นแล
มงคลที่ 5.เคยทำบุญมาก่อน
กุศลบุญ คุณล้ำ เคยทำไว้
จะส่งให้ สวยเด่น เช่นดวงแข
ทั้งทรัพย์ยศ ไมตรี มีเย็นแด
เพราะกระแส บุญเลิศ ประเสริฐนัก
มงคลที่ 6 การตั้งตนชอบ
ต้องตั้งตน กายใจ ในทางถูก
เร่งฝังปลูก ตนไว้ ให้ถูกหลัก
เมื่อตัวตน ยังมี เป็นที่รัก
ควรพิทักษ์ ให้งาม ตามเวลา
มงคลที่ 7 ความเป็นพหูสูต
การสนใจ ใฝ่คว้า หาความรู้
ให้เป็นผู้ แก่เรียน เพียรศึกษา
มีศีลดี สติมั่น เกิดปัญญา
ย่อมนำพา ตัวรอด เป็นยอดดี
มงคลที่ 8 การรอบรู้ในศิลปะ
ศิลปะ ต่างอย่าง ทางอาชีพ
ควรเร่งรีบ เรียนรู้ ชูศักดิ์ศรี
มีบางคน จนอับ กลับมั่งมี
ฉลาดดี มีศิลป์ หากินพอ
มงคลที่ 9 มีวินัยที่ดี
อันวินัย นำระเบียบ สู่เรียบร้อย
คนใหญ่น้อย เปรมปรีดิ์ ดีนักหนา
วินัยสร้าง กระจ่างข้อ ก่อศรัทธา
เพราะรักษา กติกา พาร่วมมือ

ไม่พูดเท็จ พูดสอดเสียด และพูดมาก
ละความยาก สร้างวิบาก ฝากยึดถือ
คนหมู่มาก มักถางถาก ปากข่าวลือ
ต้องสัตย์ซื่อ ถือวินัย ใช้ร่วมกัน
มงคลที่ 10 กล่าววาจาอันเป็นสุภาษิต
เปล่งวจี สัจจะ นวลละม่อม
กล่าวเลลี้ยกล่อม ไพเราะ กาลเหมาะสม
เจือประโยชน์ เมตตา ค่านิยม
รื่นอารมณ์ ผู้ฟัง ดังเสียงทอง
มงคลที่ 11 การบำรุงบิดามารดา
คนที่หา ได้ยาก มากไฉน
เพราะว่าใน โลกนี้ มีเพียงสอง
คือพ่อแม่ เกิดเกล้า เหล่าลูกต้อง
ตอบสนอง พระคุณ ได้บุญแรง
มงคลที่ 12 การสงเคราะห์บุตร
เป็นมารดา บิดา ทำหน้าที่
ให้บุตรมี พำนัก เป็นหลักแหล่ง
ส่งเสริมบุตร ธิดาตน กุศลแรง
ย่อมส่องแสง เพิ่มพูน ตระกูลวงศ์
มงคลที่ 13.การสงเคราะห์ภรรยา
มีคู่ครอง ต้องไม่ทำ ให้ช้ำจิต
จะพาผิด ไปข้าง ทงผุยผง
ต้องสงเคราะห์ แก่กัน ให้มั่นคง
รักยืนยง ด้วยกัน ถึงวันตาย
มงคลที่ 14.ทำงานไม่คั่งค้าง
ะทำงาน การใด ตั้งใจมั่น
อย่าผัดวัน ทำเล่น เช้า เย็น สาย
ไม่ทิ้งคา อากูล มากมูลมาย
เร่งคลี่คลาย ให้เสร็จ สำเร็จการ
มงคลที่ 15.การให้ทาน
ควรบำเพ็ญ ซึ่งทาน คือการให้
ท่านว่าไว้ สวยงาม สามสถาน
หนึ่งให้ของ สองธรรมะ ขนะมาร
อภัยทาน ที่สาม งามเหลือเกิน
มงคลที่ 16.การประพฤติธรรม
การประพฤติ ตามธรรม คำพระสอน
ไม่เดือดร้อน ถอนทุกข์ ยามฉุกเฉิน
คนรักธรรม ธรรมรักษ์คน ผลเจริญ
นั่ง,ยืน,เดิน นอน,สุข ทุกข์ไม่มี
มงคลที่ 17.การสงเคราะห์ญาติ
เมื่อยามญาติ อัตคัด เกินขัดข้อง
ควรหาช่อง สงเคราะห์ ไม่เลาะหนี
เขาซาบซึ้ง ถึงคุณ อบอุ่นดี
หากถึงที เราจน ญาติสนใจ
มงคลที่ 18 ทำงานไม่มีโทษ
งานรับจ้าง ล้างชาม ก็ตามเถิด
หากไม่เกิด โทษทัณฑ์ นั่นสดใส
เมื่อได้ช่อง ต้องจำ กระทำไป
ได้กำไร ทุกทาง ไม่ว่างงาน
มงคลที่ 19 ละเว้นจากบาป
กรรมชั่วช้า ลามก ต้องยกเว้น
หากขืนเล่น ด้วยกัน ถูกมันผลาญ
งดเว้นบาป กำราบให้ ไกลสันดาน
ในดวงมาลย์ ไม่ร้อน และอ่อนเพลีย
มงคลที่ 20 สำรวมจากการดื่มน้ำเม
ของมึนเมา ทุกชนิด พิษคล้ายเหล้า
ใครเสพเข้า น่าตำหนิ สติเสีย
เกิดโรคร้าย แรงร้อน กายอ่อนเพลีย
ใครงดเสีย เป็นสุข ไปทุกวัน
มงคลที่ 21 ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลายไม่ประมาท คือมี สติพร้อม
คอยหน่วงน้อม ธรรมคุณ ไม่ผลุนผลัน
ธรรมอันใด ไม่ดี หลีกหนีพลัน
ธรรมดีนั้น ยึดแน่น ไม่แคลนคลอน
มงคลที่ 22 มีความเคารพ
ความเคารพ นับถือ คือเสน่ห์
ไม่โลเล เหมือนลิง วิ่งหลอกหลอน
ทั้งต่อหน้า ลับหลัง พึงสังวร
ย่อมงามงอน สวยสง่า ราคาแพง
มงคลที่ 23 มีความถ่อมตน
ไม่พองลม ก้มหัว เจียมตัวด้วย
มรรยาทสวย นิ่มนวล สิ้นส่วนแข็ง
เหมือนงูพิษ ถอดเขี้ยว หมดเรี่ยวแรง
ยามแถลง นอบน้อม พร้อมใจกาย
มงคลที่ 24 มีความสันโดษ
ความสันโดษ พอใจ ในสิ่งของ
เช่นเงินทอง ของตน แม้ล้นหลาย
เมื่อมีน้อย จ่ายน้อย ค่อยสบาย
ความจนหาย เลยลับ กลับมั่งมี
มงคลที่ 25 มีความกตัญญูกตัญญู รู้บุญ คุณพ่อแม่
คนเฒ่าแก่ แลอาจารย์ ท่านทรงศีล
จอมมุนินทร์ ปิ่นเกล้า เจ้าธานี
หาวิธี แทนคุณ สมดุลกัน
มงคลที่ 26 การฟังธรรมตามกาล
การฟังธรรม ตามกาล ผ่านมาถึง
ควรคำนึง นิ่งนั่ง ฟังขยัน
ย่อมจะเกิด ปัญญา สารพัน
ตั้งใจมั่น ฟังดี นี่สมควร
มงคลที่ 27 มีความอดทน
ความอดทน ตรากตรำ ยามลำบาก
เจ็บไข้มาก ทนได้ ไม่โหยหวน
ถูกเขาด่า ให้ฟัง นั่งหน้านวล
ยิ้มเสสรวล ด้วยขันติ งามวิไล
มงคลที่ 28 เป็นผู้ว่าง่าย
ควรเป็นคน สอนง่าย ไม่ตายด้าน
ก่อรำคาญ ค่ำเช้า ไม่เข้าไหน
ไม่ซัดโทษ ของตน ให้คนใด
เมื่อมีใคร สอนพร่ำ ให้นำมา
มงคลที่ 29 การได้เห็นสมณะ
การพบเห็น สมณะ ผู้สงบ
แล้วนอบนบ ถามไถ่ ไตรสิกขา
หมั่นฝึกหัด ทุกวัน ด้วยปัญญา
ย่อมชักพา จิตตรง มงคลมี
มงคลที่ 30 การสนทนาธรรมตามกาล
ยามหดหู่ ฟุ้งซ่าน กาลสงสัย
เป็นสมัย ไต่ถาม ตามเหตุผล
เพื่อบรรเทา คลี่คลาย หายกังวล
ควรจะสน- ทนาธรรม ตามที่ควร
มงคลที่ 31 การบำเพ็ญตบะ
พึงบำเพ็ญ ตบะ ละกิเลส
อันเป็นเหตุ หักห้าม กามฉันท์
มุ่งทำลาย ถ่ายบาป สาบสูญพันธุ์
เข้าสู่ขั้น สุโข ฌาณโกลีย์
มงคลที่ 32 การประพฤติพรหมจรรย์เร่งประพฤติ พรหมจรรย์ อันประเสริฐ์
เพื่อให้เกิด สุขล้วน โดยถ้วนถี่
ตั้งแต่ทาน ถึงสิกขา บรรดามี
สมบูรณ์ดี พรหมจรรย์ ย่อมมั่นคล
มงคลที่ 33 การเห็นอริยสัจการรู้เห็น ความจริง สิ่งเที่ยงแท้
ไม่ผันแปร สี่ชนิด ไม่ผิดหลง
ตัดตัณหา มูลราก พรากทุกข์ลง
เป็นการส่ง ข้ามฟาก จากสาคร
มงคลที่ 34 การทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
ทำให้แจ้ง นิพพาน ผลาญสังโยชน์
ตรวจตราโทษ ธาตุ ขันธ์ หมั่นฝึกถอน
เอาอรหัต มรรคญาณ เผาราญรอน
ดับทุกข์ร้อน นิพพาน สำราญนัก
มงคลที่ 35 การมีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
ท่านผู้ใด ใจดำรง อยู่คงที่
ในเมื่อมี โลกธรรม ครอบงำหนัก
เช่น ลาภ ยศ สุข เศร้า เข้าง้างชัก
มิอาจยัก โยกท่าน ให้หวั่นใจ
มงคลที่ 36 การมีจิตไม่โศกเศร้า
คราวพลักพราก จากญาติ ขาดชีวิต
ถูกพิชิต จองจำ ทำโทษใหญ่
มีสติ คุมจิต เป็นนิตย์ไป
ไม่เสียใจ โศกเศร้า เฝ้าประคอง
มงคลที่ 37 มีจิตปราศจากกิเลส
หมดราคะ โทสะ โมหะแล้ว
จิตผ่องแผ้ว เลิศดี ไม่มีสอง
ย่อมมีค่า สูงจริง ยิ่งเงินทอง
เหมือนสูริย์ส่อง ท้องฟ้า สง่างาม
มงคลที่ 38 มีจิตเกษมจิตเกษม เปรมปรีดิ์ ดีตลอด
เป็นจิตปลอด จากโอฆ ในโลกสาม
เครื่องผูกมัด สลัดหมด แสนงดงาม
เข้าถึงความ สุขสันต์ นิรันดร

บาปเพราะปาก


              "อยู่คนเดียวให้ระวังจิต อยู่กับมวลมิตรต้องระวังทั้งจิตและวาจา"
"จิต" ถึงแม้จะนั่งอยู่เฉยๆ คนเดียว จิตก็คิดดีคิดชั่วได้ ธรรมะนั้นมีความละเอียดอ่อนมาก แม้แต่จิตปรุงแต่งไปในทางชั่ว ก็มิควรได้กระทำ คิดดีทำให้จิตแจ่มใสเบิกบาน ถือเป็นบุญของจิตที่เกิดขึ้น เพราะจิตมุ่งเดินไปในแนวทางบริสุทธิ์ ความบริสุทธิ์เป็นความสุข และความบริสุทธิ์เป็นบุญ
หากจิตคิดไม่ดี คือไม่ระวังจิต กระแสจิตที่นำทางไปในทางไม่ดีนั้น จิตเดินทางเข้าไปในประตูกิเลส จิตเริ่มเศร้าหมองอย่างไม่รู้ตัว
ตัวบุญกับตัวบาป อยู่ระหว่างเส้นกลางเส้นเดียวกัน ถ้าไม่สังเกตหรือไม่พิจารณาให้ดี อาจมองไม่เห็นเส้นกั้นกลางระหว่างกันได้ เพราะเป็นเส้นบางและเล็กมาก อยู่ที่ตัว "คิด" ตัวเดียวเท่านั้น จิตมันจะข้ามไปทางไหน บุญหรือบาป
หญิงขายดอกไม้คนหนึ่ง ขายไปๆ คนมาซื้อมากเข้า เขาเกิดความโลภขึ้นมาทันที อยากจะขายให้แพงขึ้นหวังจะได้เงินมากขึ้น พอตัวโลภเกิดมันเป็นกิเลสขึ้นมาบังความดีงามทันที จากนั้นเขาก็ขายลดลง
เขาคิดใหม่ ขายได้เท่าไหร่ก็เท่านั้นแหละ พอเลี้ยงชีพไปก็แล้วกัน ต่อไปนี้เราจะขายดอกไม้และพวงมาลัย เพื่อจะให้คนมีซื้อไปบูชาพระ!
จิตเขาเกิดกุศลเกิดบุญ เขาพยายามหาดอกไม้ดี บรรจงร้อยพวงมาลัยให้สวยงาม ดอกไม้ดอกไหนไม่งามหรือมีตำหนิก็ดึงออกและทิ้งไป ขายก็ราคาพอสมควร เขานึกถึงพระที่จะได้รับดอกไม้เขาไปบูชาแต่ละวัน
นี่แหละความคิดดีที่เกิดขึ้น ตัวเขาก็เป็นสุขตลอดมา
อยู่กับมวลมิตรต้องระวังทั้งจิตและวาจา วาจาคือลมปาก พูดบุญพูดบาปก็อยู่ตรงคำ
พูดที่หลุดออกมา คนจำนวนไม่น้อยมักไม้ระวังวาจา เพราะไปคิดว่าปากของเราจะพูดอะไรก็ได้ นั่นคิดผิด! ทางโลกถ้าพูดไปล่วงเกินเขาก็ยังมีความผิด ยิ่งทางธรรมยิ่งหนักกว่า ถ้าใครไม่ระมัดระวัง พระพุทธองค์จึงสอนไว้ให้สำรวมวาจา!
เมื่อพระพุทธองค์เสด็จดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพานไปแล้ว มีพระภิกษุสงฆ์กลุ่มหนึ่งในโรหนชนบท ซึ่งมีความประสงค์จะเดินทางไปนมัสการต้นพระศรีมหาโพธิ์ สถานที่ตรัสรู้ ในขณะที่เดินทางไปนั้น เกิดหลงทางเข้าไปในป่าใหญ่และไม่สามารถจะหาทางออกได้
วนเวียนอยู่ในป่านั้นหลายวัน อาหารก็ไม่ได้ฉัน รู้สึกหิวโหยและลำบากมาก เดินวนไปเวียนมาอยู่นาน ในที่สุดก็ทะลุออกไปยังทุ่งกว้างของป่าใหญ่นั้น มองไปกลางทุ่ง
ทันใดนั้น เหล่าภิกษุก็มองเห็นชายร่างใหญ่โตคล้ายมนุษย์คนหนึ่ง ซึ่งดูแล้วรูปร่างหน้าตาไม่ค่อยเหมือนคนธรรมดาทั่วๆ ไป กำลังเทียมโคตัวใหญ่ 4 ตัวเข้าที่คันไถเหล็ก แล้วเดินไถนาอยู่กลางทุ่งคนเดียว ความดีใจจะได้รู้ทางออกจากป่า และจะได้รู้ว่าทางไปยังต้นพระศรีมหาโพธิ์ไปทางด้านไหนกันแน่ จึงเดินตรงเข้าไปยังเขาผู้นั้นและเอ่ยปากถามว่า
"นี่อุบาสกทางจะออกจากป่านี้ไปทางไหน พวกเราหลงอยู่ในป่าใหญ่นี้มาครบ 7 วันแล้ว รู้สึกเหนื่อยยากลำบากมาก"
"อุบาสกช่วยบอกทางให้หน่อยเถิด"
"ฮึ! อะไรนะ" เขาพูดและมองหน้าภิกษุเหล่านั้น
"พระคุณเจ้า พวกท่านหลงในป่าใหญ่ลำบากแค่ 7 วันเท่านั้น ส่วนข้าพเจ้านี่สิ หลงไถนาอยู่ที่นี่ทั้งกลางวันและกลางคืนมานานนับได้ 1 พุทธันดรแล้ว ลำบากทุกข์มากกว่าพระคุณเจ้าไม่รู้เท่าไหร่มานาน" เขาพูดด้วยความอึดอัดใจ
"อะไร..อุบาสก! คนไถนาทั้งกลางวันกลางคืนมา 1 พุทธันดรมีที่ไหน? ทำไมท่านจึงมาพูดเล่นกับอาตมาอีก"
"ข้าพเจ้าพูดจริง!" เขายืนยัน
"ขอพระคุณเจ้าลองพิจารณาดูข้าพเจ้าให้ดีซิ ข้าพเจ้าเป็นคนหรือเป็นอะไร" เขาพูด
"ท่านเป็นอะไร? ดูแล้วท่านเหมือนไม่ใช่คนแน่ๆ แล้วท่านเป็นอะไรกันแน่" ภิกษุรีบถาม
"เปรต! ข้าพเจ้าเป็นเปรต เปรตที่ได้รับความทุกข์ทรมานอย่างหนัก
ต้องไถนาอยู่อย่างนี้ จะวางไถก็ไม่ได้ เดินไถอยู่อย่างนี้ 1 พุทธันดรแล้ว" เปรตตอบ
(พุทธันดรแปลว่า ช่วงระหว่างพระพุทธเจ้า คือ ช่วงระยะเวลาไม่มีพระพุทธเจ้า ตัวอย่างขณะนี้พระศาสนาของสิทธัตถพุทธเจ้ายังไม่สิ้นไป จึงถือว่ายังมีพระพุทธเจ้าและยังไม่เป็นพุทธันดร ต่อเมื่อพระพุทธศาสนาของพระสิทธัตถพุทธเจ้าสิ้นแล้ว และพระเมตเตยยะยังไม่เสด็จอุบัติมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ช่วงนั้นจึงจะเรียกว่า "พุทธันดร")
"ท่านได้ทำกรรมอะไรไว้ ลองเล่าให้พวกเราได้ฟังบ้างก็จะเป็นการดี"
"ก็ไม่มีอะไรหรอก" พูดแบบสะบัดๆ
"ข้าพเจ้าทำบาปด้วยปาก! คือเมื่อก่อนสมัยศาสนาพระกัสสปพระพุทธเจ้านั้น ข้าพเจ้าเป็นชาวนา ข้าพเจ้าทำบาปด้วยปาก ความจริงก็ไม่มากมายอะไรเลย แต่ทำไมจึงต้องเป็นเปรตอย่างนี้ก็ไม่รู้"
"ทำบาปด้วยปาก ทำอย่างไร ลองเล่ามาซิ" ภิกษุเหล่านั้นรีบถาม
สมัยที่พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัติตรัสรู้ในโลกนั้น ข้าพเจ้ามีอาชีพทำนา วันหนึ่งเพื่อนบ้านทั้งหลายเขากันไปทำบุญและทำการสักการบูชาแด่องค์สมเด็จพระกัสสปพุทธเจ้า คนเหล่านั้นเขามาชวนข้าพเจ้าให้ไปร่วมทำบุญด้วย ข้าพเจ้าเห็นว่า การไปทำบุญแก่สมเด็จพระกัสสปพุทธเจ้านั้นเป็นการเสียประโยชน์ เสียเวลาทำมาหากิน สู้ไปไถนาไม่ได้ เลยตอบเพื่อนบ้านเหล่านั้นไปว่า
"ไม่ไปหรอก เสียเวลาไถนา"
พวกเขาก็บอกว่า การไปทำบุญกับสมเด็จพระกัสสปพุทธเจ้า ดีกว่าการไถนาเป็นไหนๆ
"พระกัสสปพุทธเจ้าวิเศษอย่างไร สมเด็จพระกัสสปพุทธเจ้าท่านสามารถที่จะไถนาอย่างเรานี้ได้หรือ?" ที่พูดออกไปเพราะตัดความรำคาญ
คนเหล่านั้นตกใจ เขารีบช่วยกันสดุดีคุณแห่งสมเด็จพระพุทธเจ้า และก็ตักเตือนไม่ให้ข้าพเจ้าพูดเช่นนั้น และพรรณนาโทษแห่งการดูหมิ่นพระพุทธเจ้าจนข้าพเจ้าหมั่นไส้ เลยพูดออกไปอีก!
"พวกแกทั้งหลายอย่ามาสาธยายให้หนวกหูเราเลย เอาละ เป็นอันว่าพระกัสสปะวิเศษจริง เราตั้งใจไว้แล้วว่า ถ้าพระกัสสปะจะไม่ไถนาให้เราได้ เราก็จะไม่ไป ไม่ทำการสักการบูชา"
"หากพระกัสสปพุทธเจ้าสามารถมาจับหางไถแล้วไถนาได้เมื่อไหร่ เราจะไปทำบุญสักการบูชา"
"ด้วยปากชั่วของข้าพเจ้า พูดเพื่อจะประชดเพื่อนบ้านเหล่านั้นมากกว่า จะเป็นบาปกรรมอะไรก็ไม่เชิง แต่เหตุไฉนจึงดลบันดาลให้มาเกิดเป็นเปรตทนทุกข์ทรมานอยู่เช่นนี้"
บัดนี้ก็นานถึงหนึ่งพุทธันดรแล้ว ไม่รู้เมื่อไหร่จะสิ้นเวรกรรมนี้ไปสักที" เปรตพูดด้วยความรำพึง
หลังจากนั้น รู้สึกเขาจะปลงตกในชะตากรรมของเขา เมื่อหยุดนิ่งอยู่พักหนึ่ง จึงยกมือขึ้นชี้ทางแก่ภิกษุเหล่านั้น
"โน่นแน่ หนทางที่พระคุณเจ้าจะไป เอ่อ ก่อนจะจากไปข้าพเจ้าของสั่งความสักอย่างหนึ่ง ขอพระคุณเจ้าช่วยบอกเพื่อนมนุษย์ด้วยเถิด จงพยายามทำบุญทำทาน อย่าได้ประมาทใจในอกุศลกรรมความชั่วเพียงเล็กน้อย อย่าได้มีปากชั่วอย่างข้าพเจ้านี้"
ขอให้ถือเอาข้าพเจ้าเป็นตัวอย่าง เมื่อถึงคราวจะตายจะได้ไม่มาเกิดเป็นเปรต ให้เป็นที่น่าเวทนาอย่างข้าพเจ้านี้"
พระภิกษุสงฆ์ผู้หลงป่าเหล่านั้น ได้แต่สังเวชสลดใจในกรรมของเขาแล้วก็ลาเปรตผู้ชี้ทางให้ และก็ออกเดินทางไปจนถึงจุดหมายปลายทาง คือต้นพระศรีมหาโพธิ์ สถานที่ตรัสรู้แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผลแห่งปากตนที่ขาดการสำรวมพูดจาเรื่อยเปื่อยไป.

อ้างอิง

http://www.thaipost.net/tabloid/060311/35300
ขอขอบคุณ คุณประวิทย์ จำปาทอง

คำคมธรรมะสอนใจ


ตัวเราเองที่กำหนดพรหมลิขิตและเราจะเป็นในสิ่งที่เราได้กระทำ :
การลงมือทำดีกว่าคำพูดที่สวยหรู :
ชีวิตผ่านไปอย่างรวดเร็ว ถ้าคุณไม่หยุดและมองไปรอบๆบ้าง คุณอาจจะพลาดบางอย่างไป :
ไม่มีใครฉลาดโดยปราศจากการได้รู้จักความโง่เขลามาก่อน :
ความคิดที่ยิ่งใหญ่ไม่ใช่แต่เตรียมพร้อมต่อโอกาส แต่ยังพร้อมที่จะลงมือทำ :
เราคือผู้ออกแบบชีวิตของตัวเราเอง ไม่ใช่เทพเจ้าองค์ไหนจะมาลิขิตชีวิตเราได้ นอกจากตัวเราเอง :
ชีวิตเป็นของน้อย ทุกอนุวินาทีต้องสั่งสมบุญกุศล เพราะเราเกิดมาสร้างบารมี :
ทาน...เป็นจุดเริ่มต้นของความสุข ความตระหนี่...เป็นจุดเริ่มต้นของความทุกข์ :
มนุษยสมบัติ ทิพยสมบัติ และนิพพานสมบัติ เราจะมีได้ก็เพราะบุญอย่างเดียว :
ความสำเร็จอยู่ที่ใจไม่ต้องเอื้อม :
ทานทำให้รวย ศีลทำให้สวย ภาวนาทำให้ฉลาด มีดวงปัญญา รวย สวย ฉลาด ก็สมปรารถนา :




อ้างอิง
http://www.dmc.tv/pages/

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

บุญแจกข้าว,ทำบุญเพื่ออะไร...


การทำบุญในที่นี้คงไม่ได้หมายถึงเฉพาะการทำบุญแจกข้าวหาผู้ตายเท่านั้น  หากแต่รวมถึงการหยาดน้ำ  การทำสังฆทาน  การตักบาตร  และการให้ทานลักษณะอื่น ๆ

1.       การทำบุญก็เพื่ออุทิศส่วนกุศล  ไปให้ดวงวิญญาณผู้ล่วงลับ  ซึ่งก็ยังไม่ทราบเหมือนกันว่ามีจริงหรือไม่  ถ้ามี มีลักษณะอย่างไร  อยู่ไหน  อยู่อย่างไร  ถ้าลูกหลานญาติมิตรส่งไทยทานไปให้ทั้งผ่านคนกลางทั้งพระสงฆ์  หรือหมอทรง  หมอธรรมดวงวิญญาณได้รับอย่างไร  เท่าไร  หรือไม่ เมื่อได้รับแล้วเอาไปทำอะไรอย่างไรการทำบุญให้ผู้ตาย  เป็นการให้แบบทางเดียวด้วย  หวังว่าดวงวิญญาณของผู้ล่วงลับจะได้รับ  นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการมีการอยู่  ไม่วาอยู่ไหน  ภาพไหนเมื่อไรก็ตาม  เป็นการรักษารอยต่อหรือความสัมพันธ์ระหว่างผู้อยู่กับผู้ไปลองคิดดูว่าอะไร จะเกิด  ถ้าหากไม่มีร่องรอยหรือกิจกรรมใด ๆ  ระหว่างผู้อยู่กับผู้จากไป  ขนาดมีการนำเอาอิฐิของผู้ตายบรรจุไว้ในธาตุ  พร้อมจากชื่อผู้ตายพร้อม  วันเดือนปีเกิด  ปีตาย          ไว้แท้ ๆ  ลูกหลานและญาติมิตรก็ยังปล่อยทิ้งก็มี  ถึงปีถึงเดือนไม่ต้องถามถึงวันครบรอบปีเกิดปีตาย  ก็ไม่มีความหมาย  ปล่อยธาตุแม่ให้อยู่อย่างเศร้าหมอง  ส่วนธาตุพ่อธาตุแม่ของคนอื่นๆ  เขามีการสรงน้ำ  ทอดมาติกาบังสุกุลในเทศกาลสำคัญ

2.   การทำบุญให้ดวงวิญญาณเป็นการเตือนผู้อาศัยให้รู้จักการให้  มีใจโอบอ้อมอารี  ไม่มักได้อย่างเดียวต้องรู้จักให้ ให้โดยที่ไม่หวังอะไรตอบ นั้นคือการให้ที่อมตะ  เป็นนิรันดร์  เป็นการให้ที่บริสุทธิ์สะอาด  ปราศจากอคติใดๆ

 3.   ทำบุญเพื่อส่งปัจจัยไทยทานให้ดวงวิญญาณผู้ล่วงลับได้นำไปใช้ในการไปเกิดใน ภาพต่อไป  ซึ่งเหตุผลในส่วนนี้สิบคนก็สิบอย่าง  บ้างก็ว่าการไปเกิดเป็นเรื่องของความดี  ของแต่ละคนที่ทำเอาไว้ขณะมีชีวิต  ทำดีไว้ก็กลายเป็นปัจจัยเกื้อหนุน  ส่งผลให้วิญญาณของผู้ตายได้ไปเกิดในภพหน้า  หรือภพต่อๆ ไป ทำอะไรไว้ถ้าเป็นสิ่งดีงามก็ยิ่งดี  มีกุศลมีพลังเกิดหนุนให้ไปสู่สุขคติที่ ๆ มีแต่ความสงบสุข  ปราศจากเพทภัยอันตรายใด ๆ ก็ว่าไปบางคนก็อาจคิดแค่เพียงว่า  กรรมดีกรรมชั่วอยู่กับคนอยู่แล้ว  เมื่อตายไป  กรรมดีกรรมชั่วก็ตามไปอยู่กับวิญญาณ  การที่ผู้อยู่เบื้องหลังส่งไปให้ก็เป็นการแสดงถึงการมีน้ำใจ  ส่วนบุญกุศลจริง ๆ ผู้เป็นเจ้าของดวงวิญญาณจะต้องสร้างหาเอง  ผลบุญกุศลจะตามเจ้าของไปทุกหนทุกแห่ง

กายนี้ของพ่อแม่

กายของเรานี้เป็นของพ่อแม่ให้มาทั้งหมด 

  เจ้าของเดิมก็คือพ่อแม่นั่นเอง  มาจากข้าวสุกขนมสดที่พ่อแม่เคี้ยวกิน

เป็นเลือดเป็นเนื้อเป็นน้ำเหลือง  หรือเป็นการป้อนข้าวป้อนน้ำนมให้เราจนเจริญเติบโตมาถึงทุกวันนี้  ร่างกายของเรานี้จึง

ไม่ใช่ของใครเลย  นอกจากของพ่อแม่

ฉะนั้น  เราอย่าคิดโกรธเกลียดพ่อแม่เลย  อย่าได้คิดถกเถียงดื้อรั้นด่าตีพ่อแม่เลย  เพราะการกระทำเช่นนั้นล้วนเป็นการเนรคุณและเป็นบาปกรรมที่ใช้ไม่หมดลบล้างไม่ได้
               

มีเพียงบุญกุศลเท่านั้นที่จะให้พ่อแม่  ให้แต่ความดีอย่างเดียวสำหรับพ่อแม่  ให้พูดดีอย่างเดียว  ให้ทำดีอย่างเดียวจึงจะเป็นการตอบแทน  ถ้าพูดไม่ดีทำไม่ดีก็มีแต่เวรมีแต่กรรม  มีแต่หนี้สินอยู่ตลอดเวลา วันนี้เรามาชดใช้บุญคุณ
ของพ่อแม่  ด้วยการมาภาวนาให้จิตของเราหยุดคิดหยุดนึก  สงบใจสักพักหนึ่ง  ตั้งอกตั้งใจให้สบาย  ไม่ต้องคิดอะไรไม่ต้องกังวลอะไร  เอากายวาจาใจของเราที่ดีที่พ่อแม่ให้มานั้นให้ทาน  รักษาศีล  ทำสมาธิ…

พ่อแม่เป็นพระอรหันต์ของลูกเพราะอะไร?                                                                         
เพราะพ่อแม่มีความรักอันบริสุทธิ์ใจ  พร้อมที่จะให้อภัยแก่ลูกเสมอ  ส่วนพ่อแม่เป็นพระพรหมของลูกก็คือเป็น
ผู้ประเสริฐต่อชีวิตลูก อะไร ๆ ก็เสียสละได้ทุกอย่างเพื่อลูก

ความหมาย ความมุ่งหมาย และอานิสงส์ของการกรวดน้ำ


 

 



การกรวดน้ำ เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งที่ชาวพุทธนิยมกระทำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วง ลับ 'กรวดน้ำ' เป็นคำที่มาจากคำเขมร จฺรวจ กับคำว่า น้ำ

ในภาษาเขมร คำว่า 'จรวจทึก' แปลว่า กรวดน้ำ เป็นอาการเทน้ำลงดินเพื่อให้แม่พระธรณีนำบุญกุศลที่ได้กระทำแล้ว แผ่ไปสู่ญาติพี่น้องผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เช่นเดียวกับการกรวดน้ำของไทย

ความหมาย
การกรวดน้ำ หมายถึง การเทน้ำสะอาดลงดินโดยไม่ต้องเอานิ้วรอง พร้อมกับกล่าวคำอุทิศผลบุญที่ตนได้กระทำให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว แก่เจ้าเวรนายกรรม และแก่สรรพสัตว์ที่ได้รับความทุกข์อยู่ เป็นต้น การกรวดน้ำจะกระทำในขณะที่พระภิกษุกล่าวคาถาว่า

ยถา วาริวหา ปูรา ปริ ปูเรนฺติ สาครํ
เอวเมว อิโต ทินฺนํ เปตานํ อุปกปฺปติ
อิจฺฉิตํ ปตฺกิตํ ตุยฺหํ ขิปฺปเมว สมิชฺฌตุ
สพฺเพ ปุเรนฺตุ สงฺกปฺปา จนฺโท ปณฺณรโส ยถา
มณิ โชติรโส ยถา


แปลความว่า

ห้วงน้ำที่เต็ม (ย่อมไหลบ่า) ไปทำทะเลให้เต็มฉันใด ทานที่ญาติ (อุทิศ) ให้จากโลกนี้ ย่อมสำเร็จแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน ขอความต้องการ (และ) ความปรารถนาของท่านจงสำเร็จโดยพลันเถิด ขอความดำริ (ความคิด) ทุกอย่างจงเต็มเปี่ยม (สำเร็จ) เหมือนพระจันทร์วันขึ้น ๑๕ ค่ำ (ที่เต็มดวง) (และ) เหมือนแก้วมณีโชติรส (มีรัศมีรุ่งเรือง) ทำให้เจ้าของได้สมปรารถนา

เมื่อพระภิกษุกล่าวคำจบลงที่คำว่า
มณีโชติ รโส ยถา ต้องเทน้ำให้หมด เนื่องจากคำที่พระภิกษุจะกล่าวต่อไปเป็นคำพรที่ให้แก่ผู้ทำบุญนั้น

ความมุ่งหมาย
มีอยู่ ๓ ประการ คือ
๑. เป็นการแสดงกิริยายกให้ของบางอย่าง ถ้าเป็นของใหญ่โตไม่สามารถหยิบยกให้กันได้ ก็นิยมกรวดน้ำให้กัน เช่น พระเจ้าพิมพิสารถวายวัดเวฬุวันแก่พระพุทธเจ้า ก็ใช้หลั่งน้ำลงแทนน้ำพระทัย เป็นต้น
๒. เป็นการตั้งความปรารถนา เช่น พระภิกษุปรารถนาพระนิพพาน หรือตอนที่พระนเรศวรตั้งความปรารถนาตัดขาดไมตรีจากพม่า ก็ทรงหลั่งน้ำลงสู่พื้นดิน เป็นต้น
๓. เป็นการอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย ข้อนี้เป็นข้อที่ชาวพุทธไทยนับถือกันมาก ว่าน้ำที่ใสบริสุทธิ์เปรียบเหมือนน้ำใจใสบริสุทธิ์ของคนเรา อาการที่หลั่งน้ำลงเปรียบเหมือนสายใจที่หลั่งไหลออกมาให้ปรากฎแก่คนทั้งหลาย การกรวดน้ำจึงเป็นนิมิตหมายแห่งน้ำใจอันบริสุทธิ์ที่ตั้งใจอุทิศส่วนกุศลแก่ ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว จะเป็นผู้อาวุโสกว่าหรือต่ำกว่าก็ตาม เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อท่านเหล่านั้น


  อ้างอิง
 

ttp://board.palungjit.com/f8/ความหมาย-ความมุ่งหมาย-ประวัติ-และอานิสงส์ของการกรวดน้ำ-278561.html

วิธีใช้หนี้พ่อแม่

วิธีใช้หนี้พ่อแม่
พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมโม)
 
วิธีใช้หนี้พ่อแม่ไม่ยากเลย จงสร้างความดีให้กับตัวเอง และนี่ก็เป็นการใช้หนี้ตัวเอง ตัวเราพ่อให้หัวใจ แม่ให้น้ำเลือดน้ำเหลืองอยู่ในตัวแล้ว จะไปแสวงหาพ่อที่ไหน จะไปแสวงหาแม่ที่ไหน บางคนรังเกียจแม่ ว่าแก่เฒ่าไม่สวยไม่งาม พอตัวเองแก่ก็เลยถูกลูกหลานรังเกียจ จึงเป็นกงกรรมกงเกวียน ยืดเยื้อกันต่อไปอีก

พ่อแม่เป็นพระอรหันต์ของลูก ไม่ต้องไปตามพระอรหันต์ที่ไหนหรอก เหลียวดูพ่อแม่ในบ้านบ้าง แล้วท่านจะรู้สึกว่า ได้ทำดีตั้งแต่วันนี้แล้ว ฯลฯ
อย่ายืนพูด กับพ่อแม่ อย่าบังอาจ กับพ่อแม่ พ่อแม่เป็นพระอรหันต์ของลูก พ่อแม่เป็นครูคนแรกของลูก ก่อนออกจากบ้าน จึง ต้องกราบพ่อแม่ ๓ หน ที่เท้าฯ
ท่านโปรดจำไว้ วันเกิดของลูก คือ วันตายของแม่ เพราะวันที่ลูกเกิดนั้น แม่อาจต้องเสียชีวิต การออกศึกสงครามเป็นการเสี่ยงชีวิต สำหรับคนเป็นพ่อฉันใด การคลอดลูก ก็เป็นการเสี่ยงตาย สำหรับคนเป็นแม่ฉันนั้นฯ

ถ้าวันเกิดเลี้ยงเหล้า จดไว้เลย จะอายุสั้น จะบั่นทอนอายุให้สั้นลง น่าจะสวดมนต์ไหว้พระ ปฏิบัติธรรมให้พ่อ แม่ วันเกิดของเรา คือวันตายของแม่เรา ไปกราบพ่อกราบแม่ ขอพรพ่อแม่ รับรองพ่อแม่ให้พรลูกรวยทุกคน ไปเลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ให้อิ่ม ค่อยไปเลี้ยงเพื่อนฯ
สอนเด็กว่า วันเกิดของเรา อย่าพาเพื่อนมาให้พ่อแม่ทำครัวเลี้ยงนะ เธอจะบาป ทำมาหากินไม่ขึ้น เธอต้องเลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ให้อิ่มก่อน แล้วจึงไปเลี้ยงเพื่อนทีหลังฯ
ใครที่คุณแม่ล่วงลับไปแล้ว ก็ให้หมั่นทำบุญ อุทิศส่วนกุศลไปให้ท่าน และถ้าจะ ทำบุญด้วยการเจริญกรรมฐาน แล้วอุทิศส่วนกุศลไป การทำเช่นนี้ถือว่าได้บุญมากที่สุดทั้งฝ่ายผู้ให้และผู้รับ
ผู้ใดก็ตามที่คุณแม่ยังมีชีวิตอยู่ ก็ให้กลับไปหาแม่ ไปกราบ เท้าขอพรจากท่าน จะได้มั่งมีศรีสุข ส่วนคนที่เคยทำไม่ดีไว้กับท่าน ก็นำเทียนแพไปกราบขออโหสิกรรม ล้างเท้าให้ท่านด้วย เป็นการขอขมาลาโทษฯ 

ขอฝากท่านไว้ไปสอนลูกสอนหลาน อย่าคิดไม่ดี กับพ่อแม่เลย ไม่ต้องถึงกับฆ่าหรอก แค่คิดว่าพ่อแม่เราไม่ดี เราจะทำมาหากินไม่ขึ้น เจ๊ง ท่านต้องแก้ปัญหาก่อน คือถอนคำพูด ไปขอสมาลาโทษเสีย แล้วมาเจริญกรรมฐาน รับรองสำเร็จแน่ มรรคผลเกิดแน่ฯ
บางคนลืมพ่อลืมแม่ อย่าลืมนะ การเถียงพ่อเถียงแม่ไม่ดี ขอบิณฑบาตสอนลูกหลานอย่าเถียงพ่อเถียงแม่ อย่าคิดไม่ดีกับพ่อกับแม่ ไม่อย่างนั้นจะก้าวหน้าได้อย่างไร ก้าวถอยหลัง ดำน้ำ ไม่โผล่ฯ
บ้านหนึ่งพ่อมีเมีย ๔ คน เมียหลวงบอกลูกว่า พ่อเจ้าไม่ดี ลูกก็ไปด่าพ่อ ว่าพ่อ แล้วมาบวชวัดนี้ บวชแล้วเดี๋ยวเป็นโน่นเป็นนี่ จนจะกลายเป็นโรคประสาท นี่แหละ บวชก็ไม่ได้ผล หลวงพ่อก็ให้ไปถอนคำพูดและขอสมาลาโทษกับพ่อเขาก่อน แล้วกลับมานั่งกรรมฐานจึงได้ผล ( case นี้ หลวงพ่อจะเตือนผู้เป็นลูกบ่อยๆ ไม่ให้ว่าพ่อ แต่ให้เป็นเรื่องของแม่ที่จะแก้ปัญหานี้ ซึ่งหลวงพ่อสอนไว้แล้ว : ผู้รวบรวม) ฯ
เมื่อเร็วๆนี้ ฆ่าพ่อตาย แม่สงสาร พามาเจริญกรรมฐาน พอเข้าวัดมันร้อนไปหมด ปวดหัวเข้าไม่ได้ นี่เวรกรรมตามสนอง ปิตุฆาต มาตุฆาต ห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพาน ทำกรรมฐานไม่ได้แน่นอน ต้องหันรถกลับ นี่เรื่องจริงในวัดนี้ฯ
คนที่มีบุญวาสนา จะกตัญญูกับพ่อแม่ คนเถียงพ่อเถียงแม่ เอาดีไม่ได้ คนไม่พูดกับพ่อแม่ นั่งกรรมฐานร้อยปี ก็ไม่ได้อะไร? ถ้าไม่ขออโหสิกรรมฯ
ขออโหสิกรรม ที่คิดไม่ดีกับพ่อแม่ คิดไม่ดีกับครูบาอาจารย์ คิดไม่ดีกับพี่ๆ น้องๆ จะไม่เอาอีกแล้ว เอาน้ำไปขันหนึ่ง เอาดอกมะลิโรย กาย กัมมัง วจีกัมมัง มโนกัมมัง โยโทโส อันว่า โทษทัณฑ์ใด ความผิดอันใด ที่ข้าพเจ้าพลั้งเผลอสติไป ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ขอให้คุณพ่อ คุณแม่ คุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย คุณพี่ คุณน้อง อโหสิกรรมให้ด้วย แล้วเอาน้ำรดมือ รดเท้าฯ
นี่แหละท่านทั้งหลายเอ๋ย เป็น หนี้บุญคุณพ่อแม่มากมาย ยัง จะไปทวงนา ทวงไร่ ทวงตึก มาเป็นของเราอีกหรือ ตัวเองก็พึ่งตัวเองไม่ได้ สอนตัวเองไม่ได้ เป็นคนอัปรีย์จัญไรในโลกมนุษย์ ไปทวงหนี้ พ่อแม่ พ่อแม่ให้แล้ว (ให้ชีวิต ให้ … ให้ … ให้ … ฯลฯ) เรียนสำเร็จแล้ว ยังช่วยตัวเองไม่ได้ มีหนี้ติดค้าง รับรองทำมาหากินไม่ขึ้นฯ
หนี้บุญคุณอันยิ่งใหญ่ เหลือจะนับประมาณนั้น คือหนี้บุญคุณของบิดามารดาฯ 


 อ้างอิง

(หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมโม) http://www.kanlayanatam.com/sara/sara136.htm

บุญข้าวจี่

เดือนสาม บุญขัาวจี่

 
..บุญข้าวจี่ซึ่งมักจะเป็นวันเพ็ญเดือนสาม ทุกครัวเรือนในหมู่บ้านจัดเตรียมข้าวจี่ แล้วนิมนต์พระสงฆ์มารวมกันที่ศาลา
โรงธรรมญาติโยมจะมาพร้อมกันแล้วอาราธนาศีล ว่าคำถวายข้าวจี่เส็จแล้วเอาข้าวจี่ไปใส่บาตร พระสงฆ์สวดมนต์จบแล้ว
ญาติโยมยกอาหารคาวหวานไปถวายพระฉันเสร็จแล้วอนุมโทนาเป็นการเสร็จพิธีถวายข้าวจี่ ในปัจจุบันชาวบ้านนอกจาก
จะทำบุญข้าวจี่แล้วยังทำบุญมาฆบูชา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง วันมาฆบูลานี้ตรงกับวันเพ็ญเดือนสาม
เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในพระทูทธศาสนา 4 ประการคือ

1. เป็นวันเพ็ญเดือนสาม ดวงจันทร์เสยวมาฆฤกษ์
2. พระสงฆ์ จำนวน 1,250 รูป มาประชุมกันที่เวฬุวันมหาวิหารโดยมิได้นัดหมายกันล่วงหน้า
3. พระสงฆ์ที่มาประชุมครั้งนี้นล้วนเป็น เอหิภิกขุอุปสัมปทา (ภิกษุที่พระพุทธเจ้าบวชให้)
4. ท่านเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์
คำถวายข้าวจี่
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสัมฺพุทฺธสฺส ( 3 หน)
สทา ชาครมานานํ อโหรตฺตานุสิกฺขินํ
นิพฺพานํ อธิมุตฺตานํ อฎฐํ คจฉนฺติ อาสวาติ ฯ



ประเพณีบุญข้าวสาก

 

      การทำบุญข้าวสาก  นิยมทำในวันขึ้น 15 ค่ำ  เดือน 10 เป็นประจำทุกปี  ที่เรียกว่า "บุญข้าวสาก" เนื่องจากเมื่อจัดทำข้าวปลาอาหาร และเครื่องไทยทานต่าง ๆ  อุทิศให้ ผู้ล่วงลับไปแล้ว จะทำสากหรือสลาก มีคำอุทิศส่วนกุศลใส่กระดาษบันทึกชื่อ ผู้มีจิตศรัทธาบริจาค และความประสงค์ว่าจะบริจาคทานให้แก่ผู้ใด โดยบอกชื่อผู้ที่จะ มารับส่วน บุญข้าวสากหรือสลาก 

 

 

     เป็นการทำบุญอย่างหนึ่งของประเพณีสิบสองเดือน หรือ "ฮิตสิบสอง"  (ฮีต มาจากคำว่า จารีต ฮีตสิบสอง คือ จารีตประเพณีสิบสองเดือน) ของชาวอีสาน โดยมีจุดประสงค์สำคัญ เพื่อมุ่งอุทิศส่วนกุศลให้ญาติสนิท เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย บิดา มารดา สามี ภรรยา พี่น้องที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว และอาจอุทิศให้ เปรตทั่วไปด้วย

         ก่อนถึงกำหนดวันทำบุญข้าวสาก คือ ราววันขึ้น 13 - 14 ค่ำ เดือนสิบ ชาวบ้าน จะเตรียมอาหารชนิดต่าง ๆ  มีทั้งข้าว เนื้อ ปลา ข้าวเม่า ข้าวพอง ข้าวตอก ขนม และอาหารคาวหวานอื่น ตลอดจนผลไม้ต่าง ๆ  ไว้สำหรับทำบุญ สำหรับข้าวเม่า ข้าพอง และข้าวตอกนั้น จะคลุกเข้ากันโดยใส่น้ำอ้อย น้ำตาล ถั่วงา มะพร้าว ให้เป็นข้าวสาก (ข้าวกระยาสารท) แต่บางท้องถิ่นไม่นำข้าเม่า ข้าพอง และข้าวตอก มาคลุกเข้าด้วยกัน คงแยกไปทำบุญเป็นอย่าง ๆ  เมื่อเตรียมสิ่งของทำบุญเรียบร้อย แล้ว ชาวบ้านจะเอาข้าวปลาอาหารที่มีอยู่ไปส่งญาติพี่น้องและผู้รักใครีนับถือ อาจส่งก่อนวันทำบุญหรือส่งในวันทำบุญเลยก็ได้ สิ่งของเหล่านี้มักแลกเปลี่ยนกัน ไปมา ระหว่างญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เรือนเคียง ถือว่าเป็นการได้บุญ

เมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนสิบ ตอนเช้า ชาวบ้าน จะพากันนำอาหารคาวหวานต่าง ๆ  ไปทำบุญตักบาตร ที่วัด โดยพร้อมเพรียงกัน และถวายทานอุทิศส่วนกุศล ให้ญาติมิตรผู้ล่วงลับไปแล้ว
     ตอนสาย ชาวบ้านจะนำข้าวปลาอาหารที่เตรียมไว้ เป็นข้าวสาก ไปวัดอีกครั้งหนึ่ง เอาอาหารต่าง ๆ  จัดเป็น สำหรับหรือชุดสำหรับถวายทาน หรือถวายเป็นสลากภัต โดยจัดใส่ภาชนะต่าง ๆ  แล้วแต่ความนิยม ของแต่ละท้องถิ่น บางแห่งจัดใส่ถ้วยหรือบางแห่งใช้ทำ เป็นห่อทำเป็นกระทงด้วยใบตองกล้วย หรือกระดาษ แต่ละบ้านจะจัดทำสักกี่ชุดก็ได้ตามศรัทธา ก่อนที่จะถวาย ข้าวสากแด่พระภิกษุสามเณร จะกล่าวคำถวายข้าวสาก หรือสลากภัตพร้อมกัน

     เมื่อเสร็จพิธีถวายข้าวสากแล้ว ช้าวบ้านที่ไปร่วมพิธี ยังนิยมเอาชะลอมหรือห่อข้าวสากไปวางไว้ตามที่ต่าง ๆ  ในบริเวณวัด พร้อมจุดเทียนและบอกกล่าวให้ญาติ หรือเปรตผู้ล่วงลับไปแล้วมารับเอาอาหารต่าง ๆ  ที่วางไว้ และขอให้มารับส่วนกุศลที่ทำบุญอุทิศไปให้ด้วย (ผู้จัดทำ ก็เคยทำสมัยเป็นเด็กกับมารดา)

     ภายหลังจากการถวายข้าวสากแด่พระภิกษุสามเณร และนำอาหารไปวางไว้ตามบริเวณวัดเสร็จแล้ว ก็มีการฟังเทศน์ฉลองข้าวสาก และกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล ไปให้เปรตและญาติผู้ล่วงลับไปแล้วด้วย นอกจากนี้ ผู้ที่มีนา จะนำข้าวสากไปเลี้ยง "ตาแฮก" ที่นาของตน เพื่อให้ตาแฮกรักษานาและให้ข้าวกล้าอุดมสมบูรณ์ เป็นเสร็จพิธีทำบุญข้าวสาก 

                                                                                    อ้างอิงจาก

                                            http://allknowledges.tripod.com/khaosak.html



วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

กตัญญู

สิ่งที่ควรกตัญญู
สิ่งที่ควรแก่ความกตัญญูแบ่งได้เป็น 5 ประการ ได้แก่

  1. กตัญญูต่อบุคคล คือ ใครก็ตามที่เคยมีพระคุณต่อเรา ไม่ว่าจะมากน้อยเพียงไร จะต้องกตัญญูรู้คุณท่าน ติดตามระลึกถึงเสมอด้วยความซาบซึ้งพยายามหาโอกาสตอบแทนคุณท่านให้ได้ โดยเฉพาะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสงฆ์ บิดามารดา ครู อุปัชฌาย์อาจารย์ พระมหากษัตริย์หรือผู้ปกครองที่ทรงทศพิธราชธรรม จะต้องตามระลึกนึกถึงพระคุณของท่านให้จงหนัก ให้ปฏิบัติตัวให้เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ เป็นศิษย์ที่ดีของครูอาจารย์ เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ และเป็นพุทธมามกะสมชื่อ
  2. กตัญญูต่อสัตว์ คือ สัตว์ที่มีคุณต่อเรา เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย ที่ใช้งาน จะต้องใช้ด้วยความกรุณาปรานี ไม่เฆี่ยนตีมันจนเหลือเกิน
  3. กตัญญูต่อสิ่งของ คือ ของสิ่งใดก็ตามที่มีคุณต่อเรา เช่นหนังสือ ธรรมะ หนังสือเรียน สถานศึกษา วัด ต้นไม้ ป่าไม้ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการหาเลี้ยงชีพ ฯลฯ
  4. กตัญญูต่อบุญ คือ รู้ว่าคนเราเกิดมามีอายุยืนยาว ร่างกายแข็งแรง ผิวพรรณดี สติปัญญาเฉลียวฉลาด มีความสุขความเจริญ มีความก้าวหน้า มีทรัพย์สมบัติมาก ก็เนื่องมาจากผลของบุญ จะไปสวรรค์หรือกระทั่งไปพระนิพพานได้ก็ด้วยบุญ กล่าวได้ว่า ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยบุญ ทั้งบุญเก่าที่ได้สะสมมาดีแล้ว และบุญใหม่ที่เพียรสร้างขึ้นประกอบกัน จึงมีความรู้คุณของบุญ มีความอ่อนน้อมในตัว ไม่ดูถูกบุญ ตามระลึกถึงบุญเก่าให้จิตใจชุ่มชื่น และไม่ประมาทในการสร้างบุญใหม่ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป
  5. กตัญญูต่อตนเอง คือ รู้ว่าร่างกายของเรานี้เป็นอุปกรณ์สำคัญที่เราจะได้อาศัยใช้ในการทำความดี ใช้ในการสร้างบุญกุศลนานาประการเพื่อความสุข ความเจริญก้าวหน้า แก่ตนเองต่อไป จึงทะนุถนอมดูแลร่างกายรักษาสุขภาพให้ดี ไม่ทำลายด้วยการกินเหล้าเสพสิ่งเสพย์ติด










อ้างอิง
 มงคลชีวิต 38 ประการ

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B9

ธรรมะกับครอบครัว สิ่งสำคัญที่สุดของชีวิต

สมาธิ

สมาธิ ถือเป็นเรื่องสากล กล่าวคือ มิใช่เฉพาะพุทธศาสนิกชนเท่านั้นที่จะสามารถปฏิบัติสมาธิได้ แม้ผู้ที่นับถือศาสนาอื่นก็สามารถปฏิบัติสมาธิได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ การฝึกสมาธิจะเน้นให้ความสำคัญของการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เพราะนอกจากจะทำให้ผู้ปฏิบัติเห็นผลด้วยตนเองแล้ว หากมีข้อสงสัยในเชิงปฏิบัติ ก็สามารถที่จะสอบถามจากผู้รู้ผู้ชำนาญได้อย่างตรงเป้าหมาย หรือตรงต่อประสบการณ์ที่ตนเองได้ปฏิบัติมา และถึงแม้จะมีการอธิบายรายละเอียดความรู้ของสมาธิในเชิงทฤษฎี แต่กระนั้นก็มิอาจที่จะละเลยสมาธิในเชิงปฏิบัติได้



ความหมายของสมาธิ

    การอธิบายความหมายของสมาธิ สามารถอธิบายได้ทั้งในเชิงลักษณะผลของสมาธิที่เกิดขึ้น และอธิบายในลักษณะในเชิงการปฏิบัติ เช่น สมาธิ คือ ความสงบ สบาย และความรู้สึกเป็นสุขอย่างยิ่งที่มนุษย์สามารถสร้างขึ้นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่พระพุทธศาสนากำหนดเอาไว้เป็นข้อควรปฏิบัติ เพื่อการดำรงชีวิตประจำวันอย่างเป็นสุข ไม่ประมาท เต็มไปด้วยสติสัมปชัญญะ และปัญญา อันเป็นเรื่องไม่เหลือวิสัย ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ง่ายๆ

เพลง การเดินทางของใจที่เที่ยงแท้

วิธีทำบุญ

  1. ทาน คือการบริจาคทรัพย์สิ่งของแก่ผู้ที่ควรให้
  2. ศีล คือการสำรวมกาย วาจา ใจ ให้สงบเรียบร้อย ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและผู้อื่น
  3. ภาวนา คือการสวดมนต์ ทำสมาธิ อ่านหนังสือธรรมะ ฯลฯ
  4. อปจารยะ คือมีความเคารพอ่อนน้อมต่อผู้มีคุณธรรม
  5. เวยยาวัจจะ คือการขวนขวายช่วยเหลือในกิจที่ชอบ
  6. ปัตติทานะ คือการอุทิศส่วนบุญต่อผู้อื่น
  7. ปัตตานุโมทนา คือการอนุโมทนาบุญที่ผู้อื่นทำ
  8. ธัมมัสสวนะ คือการฟังธรรม
  9. ธัมมเทสนา คือการแสดงธรรม
  10. ทิฏฐุชุกัมภ์ คือการปรับปรุงความคิดเห็นของตนให้ถูกต้อง
อีกนัยหนึ่ง บุญหมายถึงสิ่งที่คนควร ก็ทำ ซึ่งจะนำความสุขมาหาตนและคนอื่น


แหล่งข้อมูลอื่น

บุญ

     คือสิ่งที่เกิดขึ้นในจิตใจแล้วทำให้จิตใจใสสะอาด ปราศจากความเศร้าหมองขุ่นมัว ก้าวขึ้นสู่ภูมิที่ดี เกิดขึ้นจากการที่ใจสงบทำให้เลือก คิดเฉพาะสิ่งที่ดี ที่ถูก ที่ควร ที่เป็นประโยชน์ แล้วพูดดี ทำดี ตามที่คิดนั้น
คนทั่วไปแม้จะมองไม่เห็น "บุญ" แต่ก็สามารถรู้อาการของบุญ หรือผลของบุญได้ คือเมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้จิตใจชุ่มชื่นเป็นสุข เปรียบได้กับ "ไฟฟ้า" ซึ่งเรามองไม่เห็นตัวไฟฟ้าโดยตรง แต่เราสามารถรับรู้อาการของไฟฟ้าได้
ในอรรถกถากล่าวถึงเผื่อแผ่บุญไว้ว่าสามารถเผื่อแผ่เพิ่มให้แก่ผู้อื่นได้โดยไม่มีประมาณ เปรียบได้กับการจุดเทียนส่งต่อไปเรื่อย ๆ คือผู้จุดก็มีความสว่างอยู่ตามเดิม และความสว่างยังเพิ่มไปอีกกว้างขวางได้