วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

กตัญญู

สิ่งที่ควรกตัญญู
สิ่งที่ควรแก่ความกตัญญูแบ่งได้เป็น 5 ประการ ได้แก่

  1. กตัญญูต่อบุคคล คือ ใครก็ตามที่เคยมีพระคุณต่อเรา ไม่ว่าจะมากน้อยเพียงไร จะต้องกตัญญูรู้คุณท่าน ติดตามระลึกถึงเสมอด้วยความซาบซึ้งพยายามหาโอกาสตอบแทนคุณท่านให้ได้ โดยเฉพาะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสงฆ์ บิดามารดา ครู อุปัชฌาย์อาจารย์ พระมหากษัตริย์หรือผู้ปกครองที่ทรงทศพิธราชธรรม จะต้องตามระลึกนึกถึงพระคุณของท่านให้จงหนัก ให้ปฏิบัติตัวให้เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ เป็นศิษย์ที่ดีของครูอาจารย์ เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ และเป็นพุทธมามกะสมชื่อ
  2. กตัญญูต่อสัตว์ คือ สัตว์ที่มีคุณต่อเรา เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย ที่ใช้งาน จะต้องใช้ด้วยความกรุณาปรานี ไม่เฆี่ยนตีมันจนเหลือเกิน
  3. กตัญญูต่อสิ่งของ คือ ของสิ่งใดก็ตามที่มีคุณต่อเรา เช่นหนังสือ ธรรมะ หนังสือเรียน สถานศึกษา วัด ต้นไม้ ป่าไม้ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการหาเลี้ยงชีพ ฯลฯ
  4. กตัญญูต่อบุญ คือ รู้ว่าคนเราเกิดมามีอายุยืนยาว ร่างกายแข็งแรง ผิวพรรณดี สติปัญญาเฉลียวฉลาด มีความสุขความเจริญ มีความก้าวหน้า มีทรัพย์สมบัติมาก ก็เนื่องมาจากผลของบุญ จะไปสวรรค์หรือกระทั่งไปพระนิพพานได้ก็ด้วยบุญ กล่าวได้ว่า ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยบุญ ทั้งบุญเก่าที่ได้สะสมมาดีแล้ว และบุญใหม่ที่เพียรสร้างขึ้นประกอบกัน จึงมีความรู้คุณของบุญ มีความอ่อนน้อมในตัว ไม่ดูถูกบุญ ตามระลึกถึงบุญเก่าให้จิตใจชุ่มชื่น และไม่ประมาทในการสร้างบุญใหม่ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป
  5. กตัญญูต่อตนเอง คือ รู้ว่าร่างกายของเรานี้เป็นอุปกรณ์สำคัญที่เราจะได้อาศัยใช้ในการทำความดี ใช้ในการสร้างบุญกุศลนานาประการเพื่อความสุข ความเจริญก้าวหน้า แก่ตนเองต่อไป จึงทะนุถนอมดูแลร่างกายรักษาสุขภาพให้ดี ไม่ทำลายด้วยการกินเหล้าเสพสิ่งเสพย์ติด










อ้างอิง
 มงคลชีวิต 38 ประการ

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B9

ธรรมะกับครอบครัว สิ่งสำคัญที่สุดของชีวิต

สมาธิ

สมาธิ ถือเป็นเรื่องสากล กล่าวคือ มิใช่เฉพาะพุทธศาสนิกชนเท่านั้นที่จะสามารถปฏิบัติสมาธิได้ แม้ผู้ที่นับถือศาสนาอื่นก็สามารถปฏิบัติสมาธิได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ การฝึกสมาธิจะเน้นให้ความสำคัญของการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เพราะนอกจากจะทำให้ผู้ปฏิบัติเห็นผลด้วยตนเองแล้ว หากมีข้อสงสัยในเชิงปฏิบัติ ก็สามารถที่จะสอบถามจากผู้รู้ผู้ชำนาญได้อย่างตรงเป้าหมาย หรือตรงต่อประสบการณ์ที่ตนเองได้ปฏิบัติมา และถึงแม้จะมีการอธิบายรายละเอียดความรู้ของสมาธิในเชิงทฤษฎี แต่กระนั้นก็มิอาจที่จะละเลยสมาธิในเชิงปฏิบัติได้



ความหมายของสมาธิ

    การอธิบายความหมายของสมาธิ สามารถอธิบายได้ทั้งในเชิงลักษณะผลของสมาธิที่เกิดขึ้น และอธิบายในลักษณะในเชิงการปฏิบัติ เช่น สมาธิ คือ ความสงบ สบาย และความรู้สึกเป็นสุขอย่างยิ่งที่มนุษย์สามารถสร้างขึ้นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่พระพุทธศาสนากำหนดเอาไว้เป็นข้อควรปฏิบัติ เพื่อการดำรงชีวิตประจำวันอย่างเป็นสุข ไม่ประมาท เต็มไปด้วยสติสัมปชัญญะ และปัญญา อันเป็นเรื่องไม่เหลือวิสัย ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ง่ายๆ

เพลง การเดินทางของใจที่เที่ยงแท้

วิธีทำบุญ

  1. ทาน คือการบริจาคทรัพย์สิ่งของแก่ผู้ที่ควรให้
  2. ศีล คือการสำรวมกาย วาจา ใจ ให้สงบเรียบร้อย ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและผู้อื่น
  3. ภาวนา คือการสวดมนต์ ทำสมาธิ อ่านหนังสือธรรมะ ฯลฯ
  4. อปจารยะ คือมีความเคารพอ่อนน้อมต่อผู้มีคุณธรรม
  5. เวยยาวัจจะ คือการขวนขวายช่วยเหลือในกิจที่ชอบ
  6. ปัตติทานะ คือการอุทิศส่วนบุญต่อผู้อื่น
  7. ปัตตานุโมทนา คือการอนุโมทนาบุญที่ผู้อื่นทำ
  8. ธัมมัสสวนะ คือการฟังธรรม
  9. ธัมมเทสนา คือการแสดงธรรม
  10. ทิฏฐุชุกัมภ์ คือการปรับปรุงความคิดเห็นของตนให้ถูกต้อง
อีกนัยหนึ่ง บุญหมายถึงสิ่งที่คนควร ก็ทำ ซึ่งจะนำความสุขมาหาตนและคนอื่น


แหล่งข้อมูลอื่น

บุญ

     คือสิ่งที่เกิดขึ้นในจิตใจแล้วทำให้จิตใจใสสะอาด ปราศจากความเศร้าหมองขุ่นมัว ก้าวขึ้นสู่ภูมิที่ดี เกิดขึ้นจากการที่ใจสงบทำให้เลือก คิดเฉพาะสิ่งที่ดี ที่ถูก ที่ควร ที่เป็นประโยชน์ แล้วพูดดี ทำดี ตามที่คิดนั้น
คนทั่วไปแม้จะมองไม่เห็น "บุญ" แต่ก็สามารถรู้อาการของบุญ หรือผลของบุญได้ คือเมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้จิตใจชุ่มชื่นเป็นสุข เปรียบได้กับ "ไฟฟ้า" ซึ่งเรามองไม่เห็นตัวไฟฟ้าโดยตรง แต่เราสามารถรับรู้อาการของไฟฟ้าได้
ในอรรถกถากล่าวถึงเผื่อแผ่บุญไว้ว่าสามารถเผื่อแผ่เพิ่มให้แก่ผู้อื่นได้โดยไม่มีประมาณ เปรียบได้กับการจุดเทียนส่งต่อไปเรื่อย ๆ คือผู้จุดก็มีความสว่างอยู่ตามเดิม และความสว่างยังเพิ่มไปอีกกว้างขวางได้